บำบัดอาการเสพติดสมาร์ทโฟน

BY Manop

  • 12 มิถุนายน 2561
  • 1,698

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมทุกวันนี้เป็นสังคมก้มหน้า ไปไหนต่อไหนจะพบผู้คนทั่วไปกำลังดูแต่โทรศัพท์ จะทำไงได้ล่ะโลกเปลี่ยนไปแล้ว ทุกวันนี้มีแต่คนคุยกันทางเฟส ทางลายน์ทั้งนั้น มีตัวเลขจากการวิจัยว่าคนไทยใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 7 ชั่วโมง จะมัวเป็นเต่าล้านปีอยู่หรือ แล้วรู้ไหมว่าการที่วัน เอาแต่ดูโทรศัพท์ไม่เป็นผลดี ทั้งร่างกายและจิตใจเพราะอะไรลองมาอ่านกัน

 

 

 

สังคมกับคนอื่นน้อยลง เมื่อใดที่ก้มหน้าการติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างที่เมื่อก่อนเคยคุยกันกลับต้องห่างเหินกันไป ความรู้สึกที่ดี ๆที่เคยมีต่อกันอาจต้องล้างรากันไป เรื่องราวบางเรื่องที่เคยคุยกันกลับลดลงหรือขาดหายไป เชื่อไหมว่าการแสดงออกทางภาษากายและอารมณ์สร้างความผูกพันกันมากกว่าสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในโลกออนไลน์

 

สายตาจะแย่ลง ยอดตัวเลขจำหน่ายร้านขายแว่นตาสูงขึ้น ขณะเดียวกันจักษุแพทย์ทำงานหนักมากกว่าเก่า เพราะแสงที่เปล่งออกมาจากจอสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่มีอันตรายต่อสายตา จะส่งผลให้ผู้ใช้มีอาการสายตาพร่ามัว อาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตามากขึ้น ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลหรือแก้ไขอาการผิดปกติที่ว่าเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

แล้วทำไมไม่ลองหาวิธีบำบัดอาการเสพติดสมาร์ทโฟนบ้าง ง่าย ๆ กับแค่ลดการมองลงโดย คนทั่วไปเกินกว่าร้อยละ 70 จะใช้ช่องทางการสื่อสารทางไลน์ ทำไมไม่ลองแบ่งสมาชิกในลายน์ ออกเป็นกลุ่มออกเป็น กลุ่มที่ติดต่อสื่อสารประจำกับกลุ่มที่มีการติดต่อสื่อสารน้อยลง ลบลายน์ผู้คนที่ไม่ค่อยจะติดต่อสื่อสารออก เลือกเฉพาะคนพิเศษที่คุยกันทางลายน์ เท่านั้น

 

             

แล้วสมาชิกเฟสบุ๊คสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีบัญชีเฟสบุ๊ค จะลองใช้วิธีเดียวกันบ้างคงไม่เป็นไรแค่ลดเพื่อนที่ไม่เคยแชท หรือตอบเฟสลง บางคนที่ขอแอดเฟรนด์แล้วขายของ แบบที่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวคงต้องเลิกการเป็นเพื่อนไป เพราะเรื่องราวบนไทม์ไลน์จะลดลงการเลื่อนชม คงเหลือแต่เฉพาะการเคลื่อนไหวสมาชิกที่สื่อสารกันประจำเท่านั้น เพียงแค่นี้จะทำให้จำนวนเวลาการจ้อง คงลดลงไปตาม

            

การสื่อสารกับคนรอบข้าง การใส่ใจความรู้สึกคนใกล้ตัวเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การพูดคุยแบบใบหน้าต่อใบหน้าจะสร้างความรักความผูกพันที่ดีกว่าการสนทนาผ่านโลกออนไลน์ สายตาคุณคงจะมีปัญหาน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายส่วนที่ว่าลง อย่างน้อยที่สุดคุณจะได้ใช้เวลากับคนใกล้ตัวอย่างเต็มที่ก่อนที่เวลาจะพรากกันไป

 

 


 เอกสารอ้างอิง

  • สำนักงานคณะกรรมการการมัธยมศึกษา,กองวิชาการ, กรุงเทพ
  • เว็บไซต์ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • การคัดกรองพัฒนาการความผิดปกติในเด็ก,นันทณี ศักดิ์พงษ์,เชียงใหม่,หน่วยกิจกรรมบำบัด,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558