เมื่อไหร่ที่คุณควรพบจิตแพทย์

BY Manop

  • 14 มิถุนายน 2561
  • 2,498

พฤติกรรมที่สร้างความอับอายหลายอย่างต่อสาธารณชน และปัญหาความรุนแรงที่พบตามสื่อเชื่อไหมว่ามาจากสาเหตุสภาพจิตผิดปกติ อย่างการขโมยชุดชั้นในตามหอพัก การกระทำสำเร็จความใคร่ตามที่สาธารณะ การมีพฤติกรรมรุนแรงทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นจนเป็นคดีความ

แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ที่ก่อเหตุไม่ยอมรับว่า ก่อนก่อเหตุตนเองมีอาการผิดปกติ และควรไปพบจิตแพทย์ก่อนจะสาย แล้วสาเหตุมาจากอะไร อาการบ่งชี้แบบไหนที่คุณควรไปพบจิตแพทย์ได้แล้ว

 

สารเคมีบางตัวในสมองทำงานผิดปกติ

 

คนที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกผิดปกติไปจากคนส่วนใหญ่ เป็นต้นว่าเดินผ่านหอพักหญิงอยากขโมยชุดชั้นในผู้หญิงไปสูดดม เจอผู้หญิงแต่งกายล่อแหลมจนมีอารมณ์ทางเพศ แล้วคุมพฤติกรรมไม่อยู่จนแสดงพฤติกรรมที่ไม่สมควรออกมา และการแสดงอารมณ์ที่ก้าวร้าวรุนแรง ล้วนมาจากสารเคมีบางตัวในสมองทำงานผิดปกติเพราะความเครียดความกดดันเรื่องปัญหาชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการงาน การประกอบอาชีพ การใช้สารเสพติดมากเกินไป ความเครียดสะสมจากการเก็บกดอารมณ์ทางเพศ ผู้ที่มีอาการรุนแรงจะจิตใจไม่อยู่ในสภาพความจริง ย้ำคิดเรื่องเดิมกลายเป็นภาพติดตาในสมอง ขาดสมาธิควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่กล้าเข้าสังคม วิตกกังวล หวาดกลัว

 

แล้วเมื่อไหร่ที่ควรจะพบจิตแพทย์

 

 

ผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับว่าตนเองมีอาการทางจิต เพราะไม่กล้ารับความจริง ไม่รู้สึกตนเองและกลัว อับอายที่จะไปพบจิตแพทย์ คนรอบข้างจะหาว่าเป็นบ้า ความจริงจิตแพทย์คือแพทย์ที่เชี่ยวชาญสาขาหนึ่งเหมือนกับเวลาคุณมีปัญหาเรื่องสายตาควรไปพบจักษุแพทย์ เป็นหวัดควรไปพบหมอที่เชี่ยวชาญโรคหู คอ จมูก แต่แค่จิตใจคุณไม่สบายทำไมไม่ไปพบจิตแพทย์แล้วหาทางรักษาให้กลับเป็นปกติ

จะทนทุกข์ทรมานอยู่ทำไมเมื่อคุณรู้สึกว่าเครียด และกดดันจากปัญหาต่าง ที่มารุมเร้า ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ กังวล ย้ำคิดกับเหตุการณ์รอบ ตัว จนคนใกล้ชิดสังเกตอาการคุณได้เพราะคนที่เริ่มผิดปกติทางจิตส่วนใหญ่จะแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่เคยเข้าสังคมจะปลีกตัวอยู่คนเดียว แสดงพฤติกรรมแปลก ออกมา และพฤติกรรมที่ว่าคนปกติจะไม่แสดงออก

 

อย่าลืมว่าคราใดที่คุณมีความรู้สึกอย่างที่กล่าวมา และคนใกล้ชิดเตือนสติควรยอมรับความจริงไปพบจิตแพทย์ก่อนที่จะสายเกินไป

        

ความจริงการไปพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องอับอาย จิตแพทย์จะมีวิธีการรักษาเช่นเดียวกับแพทย์สาขาอื่นทั่วไป คือจะเริ่มจากการซักประวัติทางร่างกาย วินิจฉัยจากการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการ จิตแพทย์จะทราบสาเหตุความผิดปกติ การสังเกตพฤติกรรมที่ผู้ที่มีอาการแสดงออกจิตแพทย์จะประเมินอาการความหนักเบาเบื้องต้นได้ การรักษาส่วนใหญ่จิตแพทย์จะเลือกการใช้ยาและพฤติกรรมบำบัดหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน

 


 

เอกสารอ้างอิง

  • เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต