GUCCI • LEO and PERLA

BY METROSOCIETY

  • 07 กุมภาพันธ์ 2562
  • 5,022

ลีโอ เดอ บาราดินีส (Leo de Berardinis) และ เพอร์ลา เพอร์ลากัลโล (Perla Peragallo) คู่หูศิลปินชาวอิตาเลียนที่ได้รับสมญานามว่าเป็นศิลปินที่มีความลุ่มหลงและมีความผิดแปลกแหวกแนวเป็นที่สุด เป็นผู้นำของยุคเสื่อมและอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของการทำละครแนวทดลองทั้งปวง

 

“โรงละครแห่งความย้อนแย้ง” (Theatre of Contradiction) ของพวกเขาได้กลายเป็นสถานที่สร้างความขัดแย้งทางความคิดอย่างถาวรและถือว่าเป็นพื้นที่นำเสนอทางเลือกแบบสุดโต่งให้กับสังคมและโลกศิลปะอันสุนทรีในช่วงเวลานั้นเลยทีเดียว ไอเดียแนวละครของพวกเขามีลักษณะท้าทายอำนาจ การยึดติดกับความคิดแบบเดิม ๆ และวัฒนธรรมการคล้อยตามสังคมอย่างแท้จริง

 

สำหรับลีโอและเพอร์ลาแล้วนั้นโรงละครไม่ได้เป็นแค่การแสดงโชว์ เพราะว่าโชว์จะนำเสนอสุนทรียภาพของการแสดงที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว หรือพูดง่ายๆว่าเป็นการนำเสนอประสบการณ์เดิมที่นำมาทำเลียนแบบขึ้นใหม่โดยปราศจากความตื่นเต้น  ในความคิดของลีโอนั้น “โรงละครต้องเป็นสถานที่นำเสนอศิลปะกำเนิดโลก เป็นองค์ความรู้รวม เป็นความสยองขวัญและความสุขของชีวิต เป็นห้องแล็บทดลองความซับซ้อนของชีวิตในรูปแบบสถานการณ์ที่ง่ายขึ้นของช่วงเวลาและสถานที่หนึ่ง”  โรงละครในความเป็นจริงจะสามารถสร้างความรู้สึกโหยหาในอีกชีวิตหนึ่งได้ สามารถทำให้การเมืองและจริยธรรมอันตึงเครียดสั่นสะเทือนได้ สามารถแปลงศักยภาพซ่อนเร้นในเชิงกวีให้กลายเป็นจริงได้

 

เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้นลีโอและเพอร์ลาจึงได้สร้างพล็อตเรื่องแบบเหนือจินตนาการ ดิบเถือนและไม่เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมากมาย หลังจากที่ได้ศึกษาภาษาทางละครและสามารถก้าวผ่านความแตกต่างอันหลากหลายของวรรณกรรมและหลักปฏิบัติทุกประเภท การนำละครตลกและดราม่าไว้ด้วยกัน การนำศิลปะชั้นสูงมาสู่วัฒนธรรมป๊อบ ผลที่ได้คือการประพันธ์ใช้คำและความหมายหลากหลายแบบเดียวกันกับที่เชคสเปียร์ (Shakespeare) แรมโบด์ (Rimbaud) สไตรด์เบิร์ก (Strindberg) และ มาจาคอฟสกิจ (Majakovskij) มีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อนิยายประโลมโลกของชาวเนเปิลในอิตาลี

 

 

เพลงเมโลดิก และละครตลกของโตโต้ (Toto)  ภายใต้กรอบเดียวกันนี้ การผสมผเสของความคิดที่ไม่เหมือนกันและไม่มีบริบทเฉพาะทำให้เกิดเสียงสะท้อนและความหมายใหม่ที่หลากหลาย โรงละครแห่งความด่างพร้อยนี้ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากเรื่องความมีอิสรภาพ ไม่มีรูปแบบที่จำกัด และไม่อ้างอิงตรรกะ เป็นสถานที่แห่งการระเบิดไอเดียและการปลดปล่อยทางความคิด

 

โรงละครแห่งความสับสน  บ้าคลั่ง แต่เต็มไปด้วยวิศัยทัศน์ที่สร้างขึ้นโดยลีโอและเพอร์ลานี้ เป็นโรงละครที่สื่ออารมณ์ด้วยความระมัดระวังและความชำนาญขั้นสูงสุด พวกเขาใส่ใจกับทุกรายละเอียดของทุกฉากทุกตอนที่เกิดขึ้นในการแสดง รวมถึงแสงสี การเคลื่อนไหว การออกแบบเสื้อผ้า ออกแบบเวที เสียงและเสียงรบกวน การสัมผัสคำในละครที่มีชีวิตเหมือนการทำการทดลองเชิงลึกแบบสุดโต่ง เช่น การแสดงแบบหมู่และเดี่ยวที่เข้ากัน

 

การผูกสัมผัสเสียงเสียดสีกันของแก้วแตกและความกล้าบ้าบิ่นของงานประพันธ์เพลงของ ชอห์นเบิร์ก (Schönberg) เสียงดังก้องและโครงสร้างทาง “ภูมิศาสตร์การเมือง” จินตภาพยนตร์ที่บิดเบี้ยวและบรรยากาศของเพลงโอเปร่าที่ประพันธ์โดยเวอร์ดี (Verdi) และเสียงคำรามของน้ำและการเดินละเมอของเลดี้ แมคเบ็ธ (Lady Macbeth)

 

มันคือเรื่องของการนำองค์ประกอบที่แตกต่างมาเรียงร้อยใหม่ ผสมผสานเข้ากับความเข้มข้นทางอารมณ์ ที่สามารถนำออกแสดงที่อื่นได้  วอลเตอร์ เบนจามิน (W.Benjamin) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้กล่าวไว้ว่า วิธีนี้ทำให้นึกถึง “จินตภาพเฉพาะของระยะทาง” สามารถปลุกความเป็นไปได้ของประสาทสัมผัสในรูปแบบใหม่ ท่ามกลางความตึงเครียดจากการสร้างจินตนาการความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ พลังของบทประพันธ์ได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นโครงการทางการเมือง ดังจะสามารถกล่าวได้ว่าอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้อารมณ์การละคร 

 

 

แด่ลีโอและเพอร์ลา ด้วยความความยกย่อง