LOUIS VUITTON

• Spring/Summer 2017

BY Duty editor

  • 01 มีนาคม 2560
  • 37,741

แอฟริกาเป็นจุดกำเนิดแห่งความศิวิไลซ์ในยุคใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคอลเลคชั่นเสื้อผ้าบุรุษฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปี 2017ของหลุยส์ วิตตอง นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการกลับสู่รากเหง้า ต้นกำเนิดและจุดเริ่มต้นดั้งเดิมเพื่อตอกย้ำความเป็นตัวคุณ

 

ธีมเหล่านี้ได้ถูกนำมาตีความทั้งในเชิงความหมายและในเชิงสัญลักษณ์ แอฟริกาเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อคอลเลคชั่นนี้เป็นอย่างมาก และเมื่อถูกนำมาผสมผสานกับความกบฏในแบบของลอนดอนพั้งค์ (London Punk) และความเชี่ยวชาญและประณีตตามแบบฉบับหลุยส์ วิตตอง ความจริงแล้วการเดินทางไปสู่สถานที่เหล่านี้และจิตวิญญาณแห่งการเดินทางนั้นก็ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์หลุยส์ วิตตองเช่นกัน

 

 

ในคอลเลคชั่นนี้ความเป็นแอฟริกาถูกนำเสนอผ่านเนื้อผ้าที่หลากหลาย หนังสัตว์หายาก และลายพิมพ์ของสัตว์หลากหลายชนิด เป็นการสืบสานเรื่องราวจากโชว์แรกของคิม โจนส์ (Kim Jones) กับหลุยส์ วิตตอง อันเกี่ยวกับวัยเด็กของเขาในเคนยา (Kenya) และบอทสวานา (Botswana) คิม โจนส์ ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับบุรุษ (Men’s Artistic Director) หวนกลับไปยังแอฟริกาอีกครั้งเพื่อนำเสนอถึงความเป็นซาฟารีและการเดินทางของสุภาพบุรุษ สีสันที่ใช้ในในคอลเลคชั่นนี้จึงเป็นสีที่มีกลิ่นอายสไตล์ทุ่งหญ้าซาวันนาแบบจางๆ และเสื้อแจ็กเก็ตที่มีดีเทลของความเป็นทะเลทรายซาฮาร่า

 

 

 

“กลิ่นอายความเป็นลอนดอนก็ยังคงแฝงอยู่เช่นเคย ในครั้งนี้ก็คือความเป็นพั้งค์ แต่เป็นพังค์ในแบบแอฟริกา เหมือนซีรี่ส์ภาพถ่ายที่ชื่อว่า “เรเนเกดส์” (“Renegades”) ของแฟรงค์ มาร์แชลล์ (Frank Marshall) ที่เป็นแก๊งค์มอเตอร์ไซค์ในบอทสวานา ใส่เสื้อผ้าหนังเป็นการผสมผสานความงามทั้งสองแบบ และเพิ่มความงามในแบบที่สาม นั่นก็คือความสง่างามแบบฝรั่งเศสตามแบบฉบับของหลุยส์ วิตตอง”

 

 

ความเป็นพั้งค์นั้นถูกสื่อผ่านออกมาโดยยางเนื้อใส โมแฮร์ (mohair) ซิป และสายต่าง ๆ ผสมผสานกับลวดลายแบบแอฟริกา รังสรรค์ด้วยเทคนิคชั้นสูงของหลุยส์ วิตตอง ครั้งนี้เป็นการร่วมงานครั้งที่สองของหลุยส์ วิตตองและเจค และดิโน แชปแมน (Jake and Dinos Chapman) ออกมาเป็นลวดลาย 4 แบบที่เป็นการดัดแปลงลายสัตว์ โดยมีลายโมโนแกรมของหลุยส์ วิตตองเป็นพื้นหลัง โมแฮร์ได้ถูกนำมาถักทอเป็นลายเลียนแบบลายสัตว์ ส่วนลายม้าลายนั้นถูกทำให้เป็นสีน้ำเงินปิโตรเลียม รองเท้ามีความเป็นพั้งค์ โดยการนำสายร่มชูชีพมาทำเป็นรองเท้า และนำส้นเครปมาประดับรองเท้าโบรกผูกเชือก (laced brogues)

 

 

นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ เช่นดีเทลสไตล์ยูทิลิทาเรียน (Utilitarian details) ของพั้งค์ก็เข้ากับประวัติของหลุยส์ วิตตองในฐานะผู้ผลิตกระเป๋าเดินทางกล่าวคือ เป็นการเน้นประโยชน์ใช้สอย ส่วนลายทาร์ทาน (tartan) ก็เข้ากันได้ดีกับลายตารางเผ่ามาไซ (Maasai) และหัตถกรรมของแอฟริกาก็มีความเกี่ยวเนื่องกันกับความประณีตแบบฝรั่งเศส นอกจากนี้ผ้าและวัสดุก็ยังมีความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นหนังบางเฉียบหลากสี นำมาสานเหมือนการสานตะกร้า หรือเส้นลายโมโนแกรม 4 สี 4 ลาย ที่เมื่อนำมาถักทอรวมกัน จะได้เป็นลายที่ 5 คือลวดลายคาราโคแรม (Karakoram)

 

 

หนังสัตว์หายากต่างๆ เป็นหัวใจสำคัญของคอลเลคชั่นนี้ เป็นการเชื่อมโยงแอฟริกากับปารีสเข้าด้วยกัน ขณะที่เสื้อแจ็กเก็ตไบเกอร์ให้ความรู้สึกแบบพั้งค์และกางเกงแนวพั๊งค์มีการตกแต่งด้วยซิป หนังจระเข้และนกกระจอกเทศถูกนำมาใช้ในการตัดเย็บเสื้อโค้ต แจ็กเก็ตและแอคเซสเซอรี่อื่นๆ ที่เป็นชิ้นเด่นของหลุยส์ วิตตอง วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่นำมาใช้อย่างหลากหลายและเป็นจุดกำเนิดแห่งแรงบันดาลใจ

 

 

เครื่องหนังของคอลเลคชั่นนี้เป็นการย้อนกลับไปสู่รากเหง้า นั่นก็คือจุดกำเนิดของโมโนแกรมและมีการเพิ่มเติมความหลากหลายขึ้นอีก 2 ลาย คือ “โมโนแกรม ซาวาน อิงค์” (Monogram Savane Ink) และ“โมโนแกรม ซาวาน ดูน” (Monogram Savane Dune) ซึ่งพัฒนามาจากต้นแบบที่ทำจากผ้าตวล (toile) จดทะเบียนการค้าในปี 1896 นอกจากนี้กระเป๋าสตีมเมอร์ (steamer) ซึ่งเป็นกระเป๋าเดินทางแบบนิ่มรุ่นแรกของหลุยส์ วิตตอง ก็ได้นำมาออกแบบใหม่เป็นกระเป๋าแบ็กแพ็ก ในขณะที่กระเป๋ารองดองเน่ (Randonnée) ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากกระเป๋าที่เคยผลิตในอดีตด้วยเช่นกัน

 

 

ทุกชิ้นในคอลเลคชั่นนี้มีความคลาสสิกแต่ทันสมัย ได้รับการออกแบบใหม่และใช้วัสดุใหม่ ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานกันระหว่างเสื้อผ้าและเครื่องหนังกระเป๋าเดินทางช่วยเสริมคอลเลคชั่นให้โดดเด่นขึ้น มีทั้งหนังสัตว์ ลายพิมพ์ และตกแต่งด้วยเลเซอร์บนภาพผลงานของแชปแมน ราวกับเป็นภาพวาดของลวดลายของคอลเลคชั่นนี้

 

 

นี่คือบทสรุปของทิศทางของคอลเลคชั่นนี้ เป็นการย้อนเวลาไปสู่รากเหง้า จิตวิญญาณ โดยใช้สิ่งที่มีมาแต่เดิมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่

 

Source : Louis Vuitton (Thailand)