Self-Care Tips for Sick Days

BY Manop

  • 25 กรกฏาคม 2561
  • 2,446

เมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนไม่ว่าจากร้อนเป็นฝน จากฝนเป็นหนาว ส่งผลให้ร่างกายคนต้องปรับตัวตามอากาศที่เปลี่ยนไปแต่ร่างกายคนที่ปรับตัวไม่ทันจะไม่สบาย เป็นไข้หวัดในที่สุด แสดงว่าคนเสี่ยงเป็นไข้หวัดตลอดปี อย่าลืมว่าคราใดที่ตัวเองป่วยเป็นไข้หวัดจะต้องพักผ่อน หยุดงาน และคงหยุดนานเมื่ออาการทรุดหนัก ทำให้เสียการเสียงาน ทำไมไม่เริ่มคิดหาวิธีดูแลตัวเองตอนที่เริ่มมีอาการ

 

 

 

แล้วจะรู้อย่างไรว่าตัวเองเริ่มเป็นหวัด

อาการเริ่มแรกสำหรับโรคหวัดทั่ว ๆ ไปคือเริ่มแสบคอเวลากลืนน้ำลาย ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่สบายตัวเหมือนปกติ ปวดศีรษะมีอาการอ่อนเพลีย บางรายเริ่มไอ จาม มีอาการคัดจมูกมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมา 

 

 

 

 เริ่มดูแลตัวเองก่อนอาการจะทรุดหนัก

พักผ่อนมาก ๆ เพราะ อย่าลืมว่าคราใดที่ทราบว่าตนเองเป็นไข้หวัดแน่แล้ว เมื่อร่างกายเริ่มอ่อนเพลีย การนอนหลับจะบรรเทาอาการไข้หวัดให้ดีขึ้น ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียน้ำจากน้ำมูก น้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำอุ่นควรดื่มแบบจิบน้อย ๆ บ่อย ๆ ครั้งแทนการดื่มรวดเดียว สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกมากอาจใช้ยาลดน้ำมูกใช้ได้กับยาแก้ปวดกรณีปวดศีรษะจะทำให้อาการหายเร็วขึ้น แล้วยาแก้ปวดที่เรียกกันว่า “ยาพารา” คืออะไร ใช้กันอย่างไร

 

 

ยาพาราคือ พาราเซตามอล วิธีใช้ที่ปลอดภัย

ยาที่ออกฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักคือพาราเซตามอล ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ขนาดยาที่รับประทานคือปริมาณยา 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ซึ่งขนาดมาตรฐานยาเม็ดที่จำหน่ายตามร้านขายทั่วไปคือเม็ดละ 500 มิลลิกรัม กล่าวคือคนที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 50 กิโลกรัมควรรับประทานไม่เกินหนึ่งเม็ด โดยรับประทานทันทีเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ควรเว้นระยะทุก 4-6 ชั่วโมงไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3วัน 

สำหรับผู้ที่แพ้ยาจะมี อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นผื่นคันแดง ความดันลดลง กรณีผู้ป่วยโรคตับไม่ควรใช้ยา และผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำอาจส่งผลเสียกับตับได้มากขึ้น

 

      

 

โรคไข้หวัดโรคที่คนไทยป่วยได้ตลอดปี เมื่อทราบอาการเริ่มต้นที่แสดงออก และทำการรักษาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายได้เร็วขึ้น ไม่เสียเวลารักษาตัวนาน ไม่เสียการเสียงาน คนใกล้ตัวไม่ต้องเสียเวลามาพยาบาลและไม่สูญเสียรายได้จากการทำงาน

 


 

เอกสารอ้างอิง

  • เภสัชกรสมเฮง นรเศรษฐีกุล. ยาแก้ปวดลดไข้.คู่มือประกอบการฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมชุมชน.กรุงเทพมหานคร;2556.หน้า 1-3
  • สู้หวัด สื่อรณรงค์รวมพลังพิชิตหวัด กรุงเทพ ฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,2552