Music therapy for Alzheimer

BY Manop

  • 30 มิถุนายน 2561
  • 2,201

ใครบ้างตอนแก่อยากจะให้ลูกหลานเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ เพราะเวลาปวดหนักปวดเบาไม่รู้สึก แล้วเรื่องอื่น ๆ ต้องดูแลเหมือนเด็กเพราะความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จดจำอะไรง่าย ๆ ไม่ค่อยได้ จนกระทั่งกิจวัตรที่ตัวเองเคยทำยังลืม หนักมาก ๆ บางคนขับถ่ายไม่รู้สึกตัว

อาการที่กล่าวมาเรียกว่าโรคอัลไซเมอร์ โรคที่เกิดจากความผิดปกติโดยตรงกับสมอง ซึ่งเป็นอวัยวะศูนย์กลางการควบคุมความรู้สึก การตอบสนองทางร่างกาย สมองทุกคนจะสื่อสารกันได้ต้องมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารสื่อประสาท ทำหน้าที่นำข้อมูลคำสั่งงานจากสมอง ไปสั่งอวัยวะเพื่อก่อให้เกิดการทำงานขึ้น แต่เมื่อธรรมชาติเมื่อคนที่อายุมาก สารสื่อประสาทในสมองจะน้อยลงทำให้การจดจำ และการใช้เหตุผลลดลงตาม ไม่อยากให้เป็นภาระกับลูกหลานทำไมไม่หาทางป้องกัน

 

 

คงกลายเป็นทัศนคติคนไทยไปแล้ว สำหรับคนที่จะเรียนดนตรีต้องเป็นเด็ก เท่านั้นเพราะผู้ปกครองรุ่นใหม่มีการเลียนแบบพฤติกรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากครอบครัวหนึ่งสู่ครอบครัวหนึ่งกับการนำบุตรหลานตัวเองไปใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยเป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ เสริมบุคลิก และกล่อมเกลาจิตใจให้เด็ก ๆ มีจิตใจที่อ่อนโยน แต่ธรรมชาติการศึกษาวิชาดนตรีไม่ได้จำกัดอายุผู้เรียนและเสริมทักษะที่ว่าให้เด็กเท่านั้น แต่ผู้ที่มีอายุมากวิชาดนตรีจะเสริมจุดด้อยเรื่องการจดจำและการใช้เหตุผลที่เป็นสาเหตุสำคัญสำหรับการมีอาการอัลไซเมอร์ตอนแก่เพราะวิชาดนตรีจะทำให้คนที่เรียนมี

 

ความมุ่งมั่น เทคนิควิธีการเรียนดนตรีแต่ละชนิดที่อาจารย์สอนให้ ส่งผลให้ผู้ที่มีอายุมากและวุฒิภาวะทางอารมณ์จะมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้โดยเฉพาะทักษะการเล่นได้ดีกว่าวัยอื่น เพราะความมุ่งมั่นเป็นการสร้างสมาธิ สมองจะมีการจัดระเบียบ จัดลำดับการทำงานกระตุ้นคำสั่งงานจากสมอง ไปสั่งอวัยวะเพื่อก่อให้การทำงานดีขึ้น

 

 

 

ความชัดเจนและความสนใจ ในการเรียนวิชาดนตรี ผู้เรียนจะต้องมีความสนใจและหลงใหลประเภทดนตรีชัดเจน อย่างน้อยที่สุดจะต้องทราบว่าตนจะเลือกเรียนเครื่องดนตรีใด ประเภทดีด สี ตี หรือเป่า เมื่อผู้ที่มีอายุมากย่อมมีความสนใจมาก่อนจะมีความรู้พื้นฐานด้านการฟังท่วงทำนองที่เคยผ่านหูมาครั้งที่ตนยังเป็นหนุ่มสาว จังหวะที่ชื่นชอบ รวมทั้งกลไกการทำงานเครื่องดนตรีชนิดนั้นว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรให้เสียงออกมาไพเราะตามตัวโน๊ต เป็นการจรรโลงใจคลายเหงา บรรเทาอาการซึมเศร้าเพราะเมื่อตนบรรเลงดนตรีเอง เสียงที่เปล่งออกมาจะกระตุ้นคำสั่งงานจากสมองให้การทำงานว่าไพเราะเพียงใด

 

 

การกระตุ้นความจำ เนื่องจากกระบวนการการเรียนดนตรีจะต้องมีการจดจำตัวโน๊ต ท่วงทำนองการบรรเลง จะส่งผลดีเรื่องสมาธิการเรียนรู้ เป็นธรรมชาติที่การเรียนดนตรี เมื่อผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อกับอาจารย์ผู้สอนสมองจะเริ่มเรียนรู้และจดจำ เป็นการกระตุ้นสมองส่วนความจำให้ทำงานดีขึ้นกว่าเดิม

 

 

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่การเรียนวิชาดนตรี คนที่มีอายุมากจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าเมื่อผู้เรียนมีการแบ่งเวลาจากกิจวัตรประจำวัน หมั่นฝึกซ้อมการเล่น จดจำตัวโน๊ต ศึกษาเทคนิคการเล่นรายละเอียดเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอน เป็นการจัดระเบียบทางความคิดอย่างเป็นระบบ  กิจวัตรในชีวิตประจำวันตนเองอายุ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรคอัลไซเมอร์ อย่าลืมว่าคนที่มีอายุมากโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่ากว่าวัยอื่น

            

เนื่องจากเสียงดนตรีคือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ สั้น ๆ เบา ๆ ยาว ๆแรง ๆ มาเรียงร้อยกันอย่างเสนาะไพเราะที่เป็นเอกลักษณ์แห่งวิชาดนตรี จิตแพทย์เชื่อว่าเสริมเรื่องการจรรโลงใจผู้ที่มีอายุมาก คลายความซึมเศร้า การจดจำตัวโน้ตเพลงจะเสริมเรื่องความจำ สมองไม่เสื่อม ฉะนั้นการเรียนดนตรีสำหรับคนสูงอายุ จะได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด.

 

 


 

เอกสารอ้างอิง

  • คู่มือป้องกันโรคสมองเสื่อม ด้วยธรรมชาติ,ลลิตา ธีระสิริ : กรุงเทพ ฯ,สำนักพิมพ์ รวมทรรศน์,2554
  •  สมองเสื่อมโรคหรือวัย,รวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมก่อนวัยอัลไซเมอร์และการดูแลรักษา,กัมมันต์ พันธุมจินดา พิมพ์ครั้งที่ 3 : กรุงเทพ ฯ,สำนักพิมพ์ คบไฟ,2543
  • รู้จักและรู้ทันอัลไซเมอร์ วารสารใกล้หมอ ,2549